จำแนกกระบวนการวางแผนระบบสารสนเทศได้เป็น 5 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมายและวตัถุประสงค์ซึงถือเป็ นแนวทางของการวางแผนเพื่อให้ บุคลากร ทุกฝ่ายงานสามารถเขา้ใจได้ตรงกัน
ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนสิ่งแวดล้อม - สิ่งแวดล้อมภายในองค์การ พิจารณาความสามารถของบุคลากรในองค์การ -สิ่งแวดล้อมภายนอกองค์การ พิจารณาถึงปัจจยัการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งด้านน ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
ขั้นตอนที่ 3 การจับประเด็นกลยุทธ์เลือกทิศทางที่องค์การจะกา้วไปในอนาคตหรือในระยะยาว
ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดนโยบายโดยใช้กลยุทธ์เป็นตัวบอกถึงทิศทางที่ธุรกิจดา เนินไป
ขั้นตอนที่ 5 การกำหนดขั้นตอนการทำงาน เพื่อควบคุมการทำงานของผู้ปฎิบัติงาน
2.การวิเคราะห์ระบบ
การวิเคราะห์ระบบ คือ การศึกษาวิถีทางหรือแนวทางการดำเนินงานเพื่อนำไปใช้ในการ ออกแบบและสร้างระบบงานสารสนเทศด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์ระบบ คือผู้ทำหน้าที่วิเคราะห์ ออกแบบ และบางครั้งเขียนโปรแกรม นักวิเคราะห์ระบบควรมีความรู้ด้าน เทคนิค มีทักษะด้านการวิเคราะห์ ด้านการจัดการ และการสื่อสารระหว่างบุคคล
การวิเคราะห์ระบบสารสนเทศ ตามวิธีวงจรพัฒนาระบบ ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา การศึกษาความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ทางเทคนิค ทางเศรษฐกิจ กำหนดเวลา และกลยุทธ์ขององค์กร การกำหนดความต้องการของระบบใหม่ และการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ เพื่อนำไปใช้สำหรับออกแบบระบบ.
3.การออกแบบระบบ
เป็นขั้นตอนในการวางแผนสำหรับระบบใหม่
หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบที่มีอยู่เดิมให้สามารถทำงานเพื่อตอบสนองความ
ต้องการของผู้ใช้ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ระบบมากขึ้น
การออกแบบ (System Design)
เป็นขั้นตอนของการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ระบบในขั้นตอนก่อนหน้า
มาพัฒนาเป็นรูปแบบทางกายภาพ
โดยการออแบบจะเริ่มจากการออกแบบงานทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
ซึ้งประกอบไปด้วย ส่วนนำข้อมูลเข้า ส่วนประมวลผล
ส่วนแสดงผลลัพธ์และส่วนจัดเก็บข้อมูล
ซึ้งการวิเคราะห์และออกแบบระบบจะมุ้งเน้นถึงสิ่งต่อไปนี้
- การวิเคราะห์ มุ้งเน้นการแก้ปัญหาอะไร
- การออกแบบ มุ้งเน้นการแก้ปัญหาอย่างไร
4.การพัฒนาระบบ
ความจำเป็นในการพัฒนาระบบสารสนเทศ
1. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน
2. การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี
3. การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
- ระบบที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มารตรฐาน ทำให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทำได้ยาก
- ความต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
- ระบบปัจจุบันไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้
การพัฒนาระบบประกอบด้วย
1) กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process)
2) บุคลากร (People)
3) วิธีการและเทคนิค (Methodology and Technique)
4) เทคโนโลยี (Technology)
5) งบประมาณ (Budget)
6) ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การ (Infrastructure)
7) การบริหารโครงการ (Project Management)
1. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการบริหารและการปฏิบัติงาน
2. การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี
3. การปรับองค์การและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
- ระบบที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ขนาดเอกสารอ้างอิงหรือเอกสารที่มีอยู่ไม่ได้มารตรฐาน ทำให้การปรับปรุงหรือแก้ไขทำได้ยาก
- ความต้องการปรับองค์การให้เหมาะสมเพื่อสามารตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ
- ระบบปัจจุบันไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้
การพัฒนาระบบประกอบด้วย
1) กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process)
2) บุคลากร (People)
3) วิธีการและเทคนิค (Methodology and Technique)
4) เทคโนโลยี (Technology)
5) งบประมาณ (Budget)
6) ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์การ (Infrastructure)
7) การบริหารโครงการ (Project Management)
5.การติดตั้งระบบ
การติดตั้งระบบ (System Implementation)
เป็นขั้นตอนการส่งมอบระบบงานเพื่อนำไปใช้จริง
โดยจะรวมถึงการจัดเตรียมแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลของระบบ
การอบรมผู้ที่เกี่ยวข้องการปรับเปลี่ยนระบบงานเดิมมาใช้ระบบงานใหม่
ข้อควรคำนึงในการติดตั้งระบบคือ
-ก่อนติดตั้งระบบควรทำการศึกษาสภาพแวดล้อมพื้นที่ที่จะติดตั้ง
-การเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม เช่น อุปกรณ์ด้านฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์ทางการสื่อสาร และอุปกรณ์ทางเครือข่าย
-เตรียมผู้เชี่ยวชาญระบบหรือทีมงานด้านเทคนิค (Technical Support)
-ติดตั้งโปรแกรมให้ครบถ้วน
6.การดูแลรักษาระบบ
ขั้นตอนการดูแลรักษาระบบ (System Maintenance) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในวงจรการพัฒนาระบบ ซึ้งเป็นขั้นตอนการดูแลแก้ไขปัญหาระบบงานใหม่ ในขั้นตอนนี้ถ้าเกิดปัญหาจากโปรแกรม โปรแกรมเมอร์จะต้องเข้ามาแก้ไข การดูแลรักษาระบบจะเป็นขั้นตอนในส่วนที่จะเกิดตามมาภายหลังที่ได้มีการติด ตั้งและใช้งานระบบแล้ว
อ้างอิง จากหนังสือเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศ ม.3
-ก่อนติดตั้งระบบควรทำการศึกษาสภาพแวดล้อมพื้นที่ที่จะติดตั้ง
-การเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม เช่น อุปกรณ์ด้านฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์ทางการสื่อสาร และอุปกรณ์ทางเครือข่าย
-เตรียมผู้เชี่ยวชาญระบบหรือทีมงานด้านเทคนิค (Technical Support)
-ติดตั้งโปรแกรมให้ครบถ้วน
6.การดูแลรักษาระบบ
ขั้นตอนการดูแลรักษาระบบ (System Maintenance) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในวงจรการพัฒนาระบบ ซึ้งเป็นขั้นตอนการดูแลแก้ไขปัญหาระบบงานใหม่ ในขั้นตอนนี้ถ้าเกิดปัญหาจากโปรแกรม โปรแกรมเมอร์จะต้องเข้ามาแก้ไข การดูแลรักษาระบบจะเป็นขั้นตอนในส่วนที่จะเกิดตามมาภายหลังที่ได้มีการติด ตั้งและใช้งานระบบแล้ว
อ้างอิง จากหนังสือเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศ ม.3
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น